SP AUDITING Content Release No. 001 / 15 July 2021
สรุปจุดเสี่ยง กับ ระบบตรวจสอบ RBA (Risk Based Audit System) ของกรมสรรพากร
RBA (Risk Based Audit System) คืออะไร
RBA (Risk Based Audit System) คือ ระบบที่สรรพากรนำมาใช้คัดกรองผู้ประกอบการและธุรกิจว่า ธุรกิจประเภทใดจัดอยู่ในกลุ่มดีที่ หรือ ธุรกิจประเภทใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นการใช้เทคโนโลยีของสรรพากรยุค 4.0 ในการจัดเก็บภาษี เป็นการนำข้อมูล IT มาใช้ในการวิเคราะห์ภาษีของแต่ละธุรกิจ ใช้ระบบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากข้อมูลทั้งภายในและภายนอกกรมสรรพากรโดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- ข้อมูลการยื่นภาษีของบริษัทผ่านระบบสรรพากร ได้แก่ ภ.ง.ด.50 ภ.พ.30 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 เป็นต้น
- ข้อมูลของบริษัทที่มีในบันทึกของหน่วยงานภายนอก เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต การไฟฟ้า การประปา และข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
- ข้อมูลของบริษัทจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังในอดีต 3-5 ปี
- ข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดเก็บภาษีตามระบบงานของกรมสรรพากร เช่น ระบบกำกับดูแล, ระบบวิเคราะห์และออกหมายเรียกตรวจสอบ, ระบบควบคุมการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล, ระบบคัดค้นข้อมูลรายตัว เป็นต้น
สรุปเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงสรุปเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้- เกณฑ์ความผิดปกติทั่วไป (เกณฑ์เสี่ยง) ซึ่งใช้กับทุกประเภทกิจการ เช่น
- ผู้เสียภาษีหยุดยื่นแบบแสดงรายการภาษี
- กิจการขาดทุนสุทธิติดต่อกันตั้งแต่ 3 รอบระยะเวลาบัญชี
- กิจการที่มีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการขอเครดิตภาษีติดต่อกัน 6 เดือนสุดท้าย
2. เกณฑ์ความผิดปกติเฉพาะประเภทกิจการ (เกณฑ์ ISC) เป็นเกณฑ์ที่คำนึงถึงโครงสร้างของรายได้และรายจ่าย ที่มีความแตกต่างกันตามประเภทกิจการ เช่น- การเปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่ายหลักของแต่ละกิจการ
- การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ที่สำคัญ
สรุปเสี่ยงที่สรรพากรจับความผิดปกติในงบการเงิน แบ่งตามประเภทภาษีได้ดังนี้
กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ได้แก่
- ยอดซื้อมากกว่ายอดขายนานติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน
- จำนวนเงินจ่ายในแบบ ภ.ง.ด.1,3,53 รวมกันมากกว่ายอดขายในแบบ ภ.พ.30
- ไม่ยื่น VAT 1 ใน 6 เดือนสุดท้ายของปี
- ประกอบการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ใช้ใบกำกับภาษีปลอม
กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ได้แก่- กรณีขาดทุนขั้นต้น (รายได้ หัก ต้นทุนขาย = ขาดทุน)
- ขาดทุนสะสมเกินทุน
- สินค้าคงเหลือปลายงวดสูงกว่ายอดซื้อ
- ประเด็นตามแบบแจ้งข้อความ หน้าสุดท้ายของแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 5 ประเด็น ถือเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรกๆ ในการตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการ
- กรณีประมาณการกำไรสุทธิต่ำไปเกินกว่า 25% ของจำนวนกำไรสุทธิประจำรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ได้ยื่นแบบเพิ่มเติมแล้ว
- กรณีมีรายจ่ายที่เพิ่มจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนเช่น ค่าตอบแทนกรรมการ ค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น
- กรณีรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ต่ำกว่ารายได้ตามแบบ ภ.พ.30 สำหรับระยะเวลาเดียวกันโดยไม่มีการกระทบยอดพิสูจน์ผลแตกต่าง
- การรับรู้รายได้ไม่ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี
กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (WHT)
มิได้หักและนำส่ง หรือหักนำส่งไว้ไม่ครบถ้วน
กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT)
ดอกเบี้ยรับจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การแสดงรายรับที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ครบถ้วน
กรณีอื่น ๆ
- ใช้เงินสดเป็นหลัก
- ไม่มีทรัพย์สินถาวร และไม่มีค่าเช่า
- เงินกู้ยืมกรรมการมากเกินไป
- ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน
- ขาดทุนสะสมเกินทุน
- ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบรายได้ และสร้างมีการค่าใช้จ่ายเท็จ
อ้างอิง
เอกสารประกอบการบรรยาย “ประเด็นความเสี่ยง จากการตรวจแนะนำด้านภาษีอากร” จัดทำและเผยแพร่โดย กองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร
https://www.beeaccountant.com/updatenews/
https://magazine.dst.co.th/